วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความแตกต่างประเภทของเลนส์แว่นกันแดด Ray-Ban

แว่นตากันแดดของ Ray-Ban มีเลนส์อยู่สี่ประเภทด้วยกัน ได้แก่ เลนส์ B15, เลนส์ G15, เลนส์โพลาไรซ์, และเลนส์ปกติ ซึ่งจะไม่กล่าวในที่นี้เพราะไม่มีอะไรพิเศษเกี่ยวกับเลนส์ดังกล่าวแค่มีสีที่แตกต่างกัน

เลนส์ B15

เลนส์ Ray-Ban B15 XLT (ถ้ามี XLT ต่อท้ายคือการเพิ่มความสว่างกว่ารุ่นปกติ)มีสีน้ำตาลอ่อน, กัน UV ทุกประเภทได้ 100% ให้แสงผ่านเข้ามาในเลนส์แค่ 15% (กันแสงไว้ถึง 85%) นอกจากนี้ยังเพิ่มความคมชัดเหมือนกับเลนส์ G15 XLT โดยการลดปริมาณแสงสีฟ้าที่จะเข้ามาในเลนส์ด้วย เนื่องจากแสงสีฟ้านั้นดวงตารับรู้ได้ง่ายจึงจะไปรบกวนสีอื่นด้วย พูดง่ายๆคือการลดแสงสีฟ้าทำให้มองเห็นความแตกต่างของสีและความสว่างของวัตถุชัดขึ้นนั่นเอง

เลนส์ G15

เลนส์นี้มีคุณสมบัติเหมือนกันเลนส์ B15 XLT แต่เลนส์ G15 XLT มีสีเทา / สีเขียว ชึ่งเลนส์ G15 XLT คือเลนส์ต้นแบบที่ใช้กับนักบิน (aviator) ซึ่งกองทัพขอให้ Ray-Ban พัฒนาขึ้นมา ซึ่งความท้าทายในการออกแบบคือ ต้องการเลนส์ที่มองเห็นเป็นแสงธรรมชาติที่สุดหรือใส่แว่นกันแดดนี้แล้วเหมือนมองด้วยตาเปล่านั่นเอง เลนส์ G15 XLT จึงให้ความนุ่มสบายตาเหมือนธรรมชาติ

ทั้งเลนส์ B15 กับ G15 XLT ทำจากแก้วที่ทนรอยขีดข่วนตามธรรมชาติ คุณภาพและความคงทนได้ระบุอยู่บนเลนส์ ด้วยคำว่า Ray Ban ซึ่งจะสังเกตได้ว่าไม่ว่านานเท่าไหร่ คำว่า Ray Ban จะไม่ซีดจางลงเลย

เลนส์โพลาไรซ์

เลนส์โพลาไรซ์เป็นเลนส์ที่ตัดแสงสะท้อนที่เกิดจาก น้ำ วัตถุกึ่งโปร่งแสง หรือโลหะออกไป เพราะเมื่อมีแสงสะท้อนเข้ามาทำให้มองเห็นความสว่างของวัตถุยากขึ้น แสงสะท้อนที่เกิดจากดวงอาทิตย์นั้นเข้ามาดวงตาได้หลายแนว (แนวตั้ง, แนวนอน หรือแนวเฉียง) เมื่อเราทำกิจกรรมต่างๆเราจะอยู่ในแนวตั้ง แสงที่เข้ามาเหมือนแฟชั่นทำให้ม่านตาดำหดตัว และความคมชัดลดลง ดังนั้นเมื่อขับรถขณะดวงอาทิตย์อยู่ด้านหน้าทำให้มองเห็นทางลำบากมาก

เลนส์โพลาไรซ์ถูกเคลือบด้วยผิวลามิเนตในแนวตั้งทำให้กรองแสงในแนวนอนออกไป มีเพียงแสงในแนวตั้งที่ผ่านเข้ามาได้ ทำให้มองเห็นใต้ผิวน้ำ หรือถ้าขับรถก็จะมองเห็นทางข้างหน้าได้ชัดขึ้น แต่บางลามิเนตที่นำมาเคลือบเป็นเลนส์โพลาไรซ์เวลามองภาพที่จอ LCD จะเห็นเป็นบิดเบี้ยว หรือ จะส่งผลให้เห็นเป็นรุ้งๆในกรณีที่ฟิล์มรถยนต์ที่เคลือบด้วยสี

ไม่มีความคิดเห็น: